วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว)

* ข้อมูลต่อไปนี้อัปเดต ณ วันที่ 31 มีนาคม 2562
* ข้อมูลบางส่วนเป็นความเชื่อส่วนบุคคล โปรดใช้วิจารณญาณ

In a nutshell

  • “ศูนย์รวมพระพุทธศาสนาของราชอาณาจักรไทย”
  • ศาสนา: พุทธ
  • เครื่องสักการะ: พวงมาลัย / ดอกบัว / ธูปเทียนทอง (ทางวัดมีบริการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย)
  • การบนบาน: นิยมบนด้วยไข่ต้ม จำนวน 30 หรือ 50 ฟอง
  • สำหรับชาวไทย ทางวัดได้จัดพื้นที่เฉพาะให้ชาวไทยที่จะมาสักการะได้เข้าไปสักการะต่อหน้าองค์พระแก้วมรกต ดังนั้นไม่ต้องกังวลว่าจะไปเบียดกับนักท่องเที่ยวตอนไหว้เลยค่ะ
  • ชาวไทยไม่เสียค่าเข้า และรบกวนแต่งกายสุภาพ (กางเกง กระโปรง คลุมเข่า เสื้อไม่แขนกุด รองเท้าหุ้มส้น หากไม่สะดวกสามารถยืมหรือซื้อจากร้านค้าแถวนั้นได้ค่ะ)

How to

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือ วัดพระแก้ว เป็นวัดที่สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนาของราชอาณาจักรไทย และเป็นวัดประจำพระบรมหาราชวังของไทย วัดพระแก้วนั้นตั้งอยู่ติดกับพระบรมหาราชวัง ชาวไทยไม่เสียค่าเข้านะคะ 🙂

สำหรับการเข้าไปสักการะพระแก้วมรกต ภายในพระอุโบสถนั้น เราสามารถเข้าทางประตูหลัก (ทางเข้านักท่องเที่ยว) คือ ประตูวิเศษไชยศรี แล้วเดินเข้าไปในวัด หรือ สามารถเข้าทางประตูสวัสดิโสภา หรือ ประตูมณีนพรัตน์ ซึ่งเป็นประตูสำหรับชาวไทยค่ะ (ดูภาพประกอบด้านล่าง) แต่ถ้าใครที่เผลอใส่กางเกงขาสั้นหรือแต่งตัวมาผิด ต้องไปเช่าที่จุดเช่าตรงทางเข้าหลักหรือซื้อจากร้านค้าบนถนนหน้าพระลาน ตรงข้ามทางเข้าหลักเท่านั้นค่ะ

เมื่อเข้าไปภายในแล้ว ตรงทางเข้าจะมีจุดบริการธูปเทียนและดอกบัว (เมื่อก่อนจะจำหน่าย แต่ปัจจุบันได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐ โปรดเกล้าฯ ให้บริการฟรีค่ะ) จากนั้นจุดธูป เทียน กล่าวสักการะพระแก้วมรกตอยู่ด้านนอกพระอุโบสถ ในจุดที่จัดไว้ค่ะ ปักธูป วาวเทียน และวางดอกไม้ด้านหน้านั้น จึงเข้าไปในพระอุโบสถได้ค่ะ เพราะภายในพระอุโบสถไม่ให้นำธูปเทียนเข้าไปจุดค่ะ

ด้านหน้าพระอุโบสถ บริเวณที่ให้จุดธูปเทียนสักการะ วางดอกไม้

จากนั้นถอดรองเท้าแล้วเข้าไปในพระอุโบสถได้ค่ะ พอเดินเข้าไปจะมีป้ายบอกบริเวณที่กั้นไว้ให้ชาวไทยไปสักการะด้านในค่ะ เดินเข้าไปจากนั้นกล่าวคำบูชา แล้วจึงขอพรค่ะ สำหรับท่านที่จะบนบานให้บนต่อท้ายนะคะ เวลาขอให้เพ่งจิตไปที่องค์พระแก้วมรกตนะคะ เมื่อเสร็จแล้วก็กราบลา เป็นอันเสร็จสิ้นค่ะ สำหรับคนที่บนไข่ต้มไว้ ตนแก้บนให้นำไข่ต้มใส่ถาด (ถามเจ้าหน้าที่วัดดูได้ค่ะ) แล้ววางตรงโต๊ะด้านหน้าพระอุโบสถตรงที่ให้จุดธูปเทียนนะคะ

พระอุโบสถที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต

Travellers’ tips

หลังสักการะเสร็จแล้ว สามารถเดินชมปูชนียวัตถุภายในวัดได้นะคะ

ปราสาทพระเทพบิดร
  1. ปราสาทพระเทพบิดร – ภายในประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ขนาดเท่าพระองค์จริงของสมเด็จบูรพกษัตริาธิราชเจ้าทั้ง 8 พระองค์แห่งพระบรมหาราชจักรีวงศ์ (ของรัชกาลที่ 9 น่าจะกำลังดำเนินการจัดสร้างอยู่นะคะ) แต่ปราสาทนี้เปิดให้เข้าชมเฉพาะวันสำคัญ เช่น วันสงกรานต์ วันจักรี และวันฉัตรมงคล ค่ะ (ลองสอบถามวันที่จะเปิดให้เข้าชมได้อีกค่ะ เพราะอาจมีการเปลี่ยนแปลง) ปราสาทนี้ถ้าพูดในภาษาชาวบ้านคือ “หอบรรพบุรุษ” ของชาวจีนนั่นเองค่ะ (ภายในห้ามถ่ายภาพ และภาพถ่ายภายในก็หามได้ยากมากด้วยค่ะ!)
  2. นครวัดจำลอง – ตั้งอยู่ด้านหลังปราสาทพระเทพบิดรค่ะ นครวัดจำลองนี้สร้างขึ้นโดยรัชกาลที่ ๔ เพราะขณะนั้นเสียมราฐ (เมืองที่ตั้งของนครวัด ประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน) เป็นเมืองขึ้นของสยาม พระองค์โปรดนครวัดมากและมีพระราชประสงค์ให้เคลื่อนย้ายมาตั้งไว้ในพระนคร แต่ด้วยเทคโนโลยีและความใหญ่ของนครวัดจึงไม่สามารถค่ะ เลยสร้าเป็นแบบจำลองขึ้นมาแทน
  3. บริเวณโดยรอบปราสาทพระเทพบิดรรายล้อมด้วยพระมณฑปจำลองภายในประดิษฐานพระราชลัญจกรณ์ (ตราประจำพระองค์) ของพระเจ้าอยู่หัวทั้ง 9 รัชกาลค่ะ สามารถเดินชมได้นะคะ
  4. ภายในวัดพระแก้วปประกอบด้วยพิพิธภัณฑ์อีกสองแห่ง คือ พิพิธภัณฑ์วัดพระแก้ว และ พิพิธภัณฑ์ผ้าไหมไทยในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ ค่ะ ลองสอบถามเจ้าหน้าที่เพื่อเข้าชมได้นะคะ
  5. อย่าลืมชมจิตรกรรมฝาผนังรายล้อมวัดด้วยนะคะ
  6. เมื่อเสร็จการชมและสักการะวัดพระแก้วแล้ว สามารถเดินเข้าไปชมส่วนพระบรมหาราชวัง ไฮไลธ์อยู่ที่ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ก่อนจะเดินออกไปทานร้านดอยคำตรงทางออก ติดกับพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทได้ค่ะ (อร่อยมาก อิอิ)

Suggestion

  • นักท่องเที่ยวเยอะมาก ระวังทรัพย์สินให้ดีด้วยนะคะ
  • ด้วยว่าบางทีนักท่องเที่ยวชาวจีนบางกลุ่มอาจจะส่งเสียงดังบ้าง ให้อภัยนะคะ เรามาทำบุญ อย่าไปถือโกรธใครเลยค่ะ 😉
  • อากาศค่อนข้างร้อน ระวังป่วยกันด้วยนะคะ
  • แนะนำให้แวะสักการะศาลหลักเมืองต่อด้วยเลยค่ะ (อ่านต่อ)

Getting there

  • ลงเรือด่วนเจ้าพระยาที่ ท่าช้าง หรือ ท่าพระจันทร์ แล้วเดินได้ค่ะ
  • BTS สนามกีฬาแห่งชาติ ต่อแท็กซี่ / BTS สะพานตากสิน ต่อเรือ / MRT หัวลำโพง ต่อแท็กซี่

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ วิกิพีเดีย
ขอบคุณภาพจาก วิกิมีเดีย คอมมอนส์

Advertisement

ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร

* ข้อมูลต่อไปนี้อัปเดต ณ วันที่ 31 มีนาคม 2562
* ข้อมูลบางส่วนเป็นความเชื่อส่วนบุคคล โปรดใช้วิจารณญาณ

ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร
ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร
ภาพถ่ายโดย ศุภณัฐ อรุโณประโยชน์ จาก วิกิมีเดียคอมมอนส์

In a nutshell

  • “สักการะองค์พ่อหลักเมือง และเทพเทวาที่ปกปักรักษากรุงเทพมหานคร”
  • ศาสนา: พุทธ / ฮินดูแบบพุทธ
  • เครื่องสักการะ: ทางศาลฯ มีจัดเตรียมชุดสักการะ (60 บาท) ไว้ให้ ประกอบด้วย ธูป เทียน ทองคำเปลว น้ำมันตะเกียง ผ้าแพรสามสี
  • การบน: นิยมบนด้วยละครชุด ซึ่งทางศาลฯ มีจัดเตรียมให้ สามารถแก้บนละครได้เป็นชุดละ 400 – 600 บาท
  • เสริม: ควรอ่านป้าย/สอบถามเจ้าหน้าที่เรื่องลำดับการสักการะก่อน

How to

เมื่อเข้าไปภายในศาลฯ แล้ว จะมีจุดขายชุดเครื่องสักการะหลายจุดภายในศาลฯ ให้ไปซื้อและทำการไหว้ตามลำดับ ดังนี้ (หากไม่มั่นใจประการใด สามารถสอบถามเจ้าหน้าที่ได้ตามสะดวกเลยค่ะ)

แผนที่ภายใน (คลิกที่ภาพเพื่อขยาย)
รายละเอียด
เครื่องสักการะ
1

หอพระพุทธรูป
กราบขอพรพระพุทธรูปภายในหอพระพุทธรูป
ดอกไม้ (ที่ไม่ใช่พวงมาลัย)
2เสาหลักเมืององค์จำลอง
สักการะเสาหลักเมืององค์จำลองสี่เสา โดยเริ่มจากการจุดธูปเทียน และไหว้สักการะภายในศาลาที่อยู่ติดกับหอพระพุทธรูป โดยหันหน้าเข้าหลักเมืององค์จำลองทั้ง 4 เสา
หลังไหว้เสร็จแล้ว ให้นำผ้าแพรและทองคำเปลวไปห่อหรือประดับเสาหลักเมืองค์จำลองเสาใดเสาหนึ่งในสี่เสา (พันผ้าแบบไหนก็ได้ค่ะ) แนะนำให้อธิษฐานไปด้วยขณะพันผ้าและปิดทอง
หลังจากเสร็จแล้วสามารถเดินกลับเข้ามาในศาลานี้ยังมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์อื่น ๆ เช่น พระสยามเทวาธิราช, พระพิฆเนศวร เป็นต้น สามารถสักการะตามสะดวก
จุดนี้สามารถ return ถาดคืนกับเจ้าหน้าที่ แล้วนำพวงมาลัยกับขวดน้ำมันติดตัวไป
ธูป เทียน ทองคำเปลว ผ้าแพรสามสี
3เจ้าพ่อหลักเมือง (หลักเมืององค์จริง)
ภายในศาลหลักเมืองจะมีเสาหลักเมืองสององค์ ให้ทำการสวดบูชาตามปกติ จากนั้นขอพร อธิษฐาน หากใครจะบนบานให้บบนบานตอนนี้ เสร็จแล้วนำพวงมาลัยวางในพาน เป็นอันเสร็จสิ้น
ภายในสามารถหาที่นั่งบนบันไดก็ได้ตามสะวด เพราะสถานที่ค่อนข้างคับแคบพอควร
พวงมาลัย
4เติมน้ำมันตะเกียงพระประจำวันเกิด
เติมน้ำมันตะเกียงที่ด้านหลังศาลหลักเมือง โดยเติมของวันเกิดตนครึ่งขวด ส่วนครึ่งขวดที่เหลือสามารถแบ่งเติมวันที่เหลือเท่า ๆ กัน หรือ นำไปเทในถาดสุดท้ายได้เลย
น้ำมันเติมตะเกียง (น้ำมันพืช)
5ศาลเทพฮินดู
ภายในประกอบด้วยเทพฮินดูจำนวนห้าองค์ ตรงจุดนี้แนะนำให้ซื้อพวงมาลัยเพิ่ม 5 พวงหากจะสักการะจริงจัง
พวงมาลัย (ต้องซื้อเพิ่มเอง)

หลังเสร็จครบทั้งห้าจุดตามลำดับแล้ว บริเวณใกล้ทางออกจะมีจุดบริการน้ำมนตร์ สามารถนำมาประพรมตัวเพื่อความเป็นศิริมงคลได้ค่ะ ทั้งนี้ รายได้จากการจำหน่ายต่าง ๆ ตั้งแต่เครื่องสักการะจนถึงร้านค้าสวัสดิการ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์บูชา จะถูกนำไปใช้ในกองทุนของทหารผ่านศึกด้วยค่ะ นับว่านอกจากจะได้บุญแล้วยังได้ช่วยเหลือผู้คนด้วย ดีมากจริง ๆ ค่ะ

Suggestion

  • อากาศโดยรวมค่อนข้างร้อน แนะนำให้ซื้อเครื่องดื่มเย็น ๆ ที่จัดจำหน่าย รายได้ช่วยกองทุนทหารผ่านศึกด้วยค่ะ
  • ด้วยว่าต้องถอดรอบเท้าในอาคารและจริง ๆ คือถอดรองเท้าเกือบทุกจุด แนะนำให้ถอดรองเท้าตลอดหากรองเท้าใส่ยาก แล้วเมื่อย้ายจุดค่อยถือรองเท้าติดไปด้วย ไม่งั้นจะได้ใส่ ๆ ถอด ๆ นะคะ
  • บางวันจะมีการจัดโต๊ะเครื่องสักการะ ก็ไม่เป็นไรค่ะ สามารถกราบไหว้ได้ตามปกติ
  • หากสะดวกเข้าร้านสังฆภัณฑ์สามารถซื้อชุดดังกล่าวมาด้วยตนเอง บอกร้านว่ามาไหว้ศาลหลักเมืองกรุงเทพฯ โดยทั่วไปเขาจะรู้ ๆ กัน
  • โซนนี้สามารถตระเวนแสวงบุญได้ที่วัดพระแก้ว ซึ่งอยู่ติดกันค่ะ
  • โซนนี้สามารถเที่ยวต่อได้ เช่น National Museum, National Gallery, Coin Museum เป็นต้น

Getting there

  • เรือด่วนเจ้าพระยา: ท่าเตียน / ท่าช้าง
  • รถไฟฟ้า: สนามกีฬาแห่งชาติ (ต่อแท็กซี่) / สะพานตากสิน (ต่อเรือ)

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ วิกิพีเดีย
ขอบคุณภาพจาก วิกิมีเดีย คอมมอนส์ (ศุภณัฐ อรุโณประโยชน์ และ กสินธร ราชโอรส)