วัดมังกรกมลาวาส (วัดเล่งเน่ยยี่)

* ข้อมูลต่อไปนี้อัปเดต ณ วันที่ 31 มีนาคม 2559
* ข้อมูลบางส่วนเป็นความเชื่อส่วนบุคคล โปรดใช้วิจารณญาณ

In a nutshell

  • “สักการะวัดวัดจีนสำคัญของประเทศ ไหว้เทพเจ้าจีนที่รวมมาไว้ครบที่สุดในกรุงเทพมหานคร”
  • ศาสนา: พุทธ / พื้นบ้านจีน
  • เครื่องสักการะ: พวงมาลัย / ดอกบัว / ธูปเทียน
“ซำป้อหุกโจ้ว” สามพระประธานประจำวัดมังกรกมลาวาส

About

วัดเล่งเน่ยยี่เป็นวัดคู่ชาวไทยเชื้อสายจีนมานาน และนาม “มังกรกมลาวาส” นั้นได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มหาราช รัชกาลที่ ๕ ของพระบรมราชจักรีวงศ์

ด้วยความเป็นวัดจีน จึงมีผสมผสานความเชื่อระหว่าง พุทธมหายาน และ ศาสนาพื้นบ้านจีน เมื่อเดินเข้าไปในวัดจะผ่านศาลาแรก คือศาลาท้าวจตุโลกบาล หรือ จตุมหาราชิกา (ซี้ไต๋เทียงอ้วง) เทพผู้ปกปักรักษา ทิศทั้งสี่ทิศ จากนั้นเมื่อผ่านศาลาที่ไปคือพระอุโบสถ เมื่อเข้าไปถึงให้สักการะ “ซำป้อหุกโจ้ว” สามพระประธานประจำวัดมังกรกมลาวาส อันประกอบด้วย พระศากยมุนีพุทธเจ้า (พระโคตมพุทธเจ้า) พระอมิตาภพุทธ และ พระไภษัชยคุรุพุทธะ

หลังสักการะพระประธานเสร็จแล้ว สามารถสอบถามหลวงจีนในวัดได้ว่าอยากมาขอพรเรื่องใดเป็นพิเศษ เพราะในวัดจะมีเทพเจ้าจีนในด้านต่าง ๆ อย่างถ้าต้องการจะขอพรเรื่องการสอบเอ็นทรานซ์ ก็ลองสอบถามหลวงจีนดูว่าจะมาไหว้ขอพรเรื่องสอบติดมหาวิทยาลัย ท่านจะพาไปที่เทพองค์หนึึ่งซึ่งเป็นเทพองค์อุปถัมภ์แห่งการศึกษา การสอบเข้ามหาวิทยาลัย (ขออภัยจริง ๆ ที่ตอนนั้นไปไหว้แล้วไม่ได้ถ่ายรูปกลับมา จำชื่อเทพองค์นี้ไม่ได้จริง ๆ ให้สอบถามหลวงจีนดูอีกทีนะคะ) นอกจากนี้ ยังมีเทพองค์อื่น ๆ ได้แก่ “ไท้ส่วย เอี๊ยะ” เทพเจ้าแห่งยาหรือหมอเทวดา “หั่วท้อเซียงซือกง” และที่นิยมไหว้ขอพรมากคือ เทพเจ้าแห่งโชคลาภ “ไฉ่ซิ้งเอี๊ยะ” เทพเจ้าเฮ่งเจีย หรือ “ไต่เสี่ยหุกโจ้ว” พระเมตไตรยโพธิสัตว์หรือ “ปู๊กุ่ยหุกโจ้ว“ซึ่งคล้ายกับพระมหากัจจายนะ “กวนอิมผู่สัก” (หรือพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์) “แป๊ะกง” และ “แป๊ะม่า” รวมเทพเจ้าในวัดมีทั้งหมด 58 องค์

หลังสักการะเทพเจ้าจีนเสร็จแล้ว สามารถติดต่อทำบุญหรือบริจาคร่วมกับวัดได้ โดยสอบถามหลวงจีนดูค่ะ อย่าตอนที่ไปมีบริจาคสำหรับเทศกาลเทกระจาด ก็ลองบริจาคเสริมบุญกันนะคะ 😀

Suggestion

  • หากสงสัยอะไรสอบถามเจ้าหน้าที่หรือหลวงจีนในวัดได้เลยค่ะ เพราะวัดนี้ค่อนข้างจะมีเทพเจ้าหลายองค์ จะได้ไหว้ถูกองค์ และประกอบพิธีกรรมได้ถูกต้องนะคะ

Getting there

  • แท็กซี่ หรือรอรถไฟฟ้าสายใหม่สร้างเสร็จและเปิดบริการก็จะขึ้นมาตรงแถววัดพอดีค่ะ

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ วิกิพีเดีย
ขอบคุณภาพจาก วิกิมีเดีย คอมมอนส์



Advertisement

วัดยานนาวา

* ข้อมูลต่อไปนี้อัปเดต ณ วันที่ 31 มีนาคม 2560
* ข้อมูลบางส่วนเป็นความเชื่อส่วนบุคคล โปรดใช้วิจารณญาณ

In a nutshell

  • “วัดริมน้ำเจ้าพระยา ติด BTS ชมพระสำเภาเจดีย์ในรัชกาลที่ ๓ และแวะชมและสักการะวัตถุมงคลในพิพิธภัณฑ์”
  • ศาสนา: พุทธ / จีน
  • เครื่องสักการะ: พวงมาลัย / ดอกบัว / ธูปเทียนทอง (ทางวัดมีจำหน่ายตามกำลังศรัทธา)

About

วัดยานนาวาตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา บนถนนเจริญกรุง ติดกับ BTS สะพานตากสิน และท่าเรือท่าสาทร

วัดแห่งนี้ได้รับการยกขึ้นเป็นพระารามหลวงโดยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี และต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๓ ทรงดำริให้สร้างพระสำเภาเจดีย์ เป็นเจดีย์ทรงสำเภาที่โดดเด่นแะแปลกตา เพราะทรงเล็งเห็็นว่าชนรุ่นหลังจะไม่ได้เห็นสำเภาซึ่งพบเห็นได้ทั่วไปในพระนครขณะนั้นอีกต่อไป ด้านบนพระสำเภาเจดีย์มีประดิษฐานพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์หลายองค์ หนึ่งในนั้นมีพระปางประทาอภัยองค์หนึ่งที่เราสามารถนำมือทาบกับพระหัตถ์ (มือ) ทั้งสองข้างของพระพุทธรูปตามความเชื่อว่าจะช่วยรับพลังศักดิ์สิทธิ์ ส่วนลำดับกรสักการะสามารถสอบถามเจ้าหน้าที่ของวัดด้านบนพระเจดีย์หรือตรงทางขึ้นพระเจดีย์ก็ได่ค่ะ

ด้านหลังพระเจดีย์คือพระอุโบสถซึ่งเก่าแก่และกำลังอยู่ภายใต้การบูรณะฯ มานานหลายปีแล้ว สามารถเข้าไปกราบสักการะขอพรพระประธานของวัดได้ภายในเลยค่ะ

หลังสักการะทั้งสองจุดแล้ว ยังมีศาลเจ้าอื่น ๆ และพระบรมราชานุสาวรีย์ของรัชกาลที่ ๓ ประดิษฐานหน้าพระสำเภาเจดีย์ห้สักการะค่ะ ส่วนสุดท้ายคือพิพิธภัณฑ์ในอาคารขนาดใหญ่สูงสามชั้น ตั้งอยู่ทางขวามือของเราถ้าเราหันหน้าเข้าทางเข้าวัดค่ะ ภายในประดิษฐานวัตถุมงคล พระบรมารีริกธาตุ และพระธาตุของพระโคตมพุทธเจ้า พระอรหันต์ และพระสงฆ์องค์สำคัญหลายองค์ แะยังประดิษฐานพระพุทธรูป เทวรูปของจีน อีกหลายองค์ รวบรวมมาจากทั่วโลก ให้ชาวไทยได้สักการะกันค่ะ

หลังทำบุญอิ่มใจแล้ว สามารถเดินไปริมแม่น้ำเจ้าพระยา (ด้านหลังพระอุโบสถ) เพื่อชมวิวจากศาลาริมน้ำ และซื้ออาหารปลาให้อาหารปลาในบริเวณริมวัดได้ค่ะ (มีปลาอาศัยอยู่ในแม่น้ำน่ะค่ะ)

Getting there

  • BTS สถานี สะพานตากสิน
  • เรือด่วนเจ้าพระยา ท่าสาทร

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ วิกิพีเดีย
ขอบคุณภาพจาก วิกิมีเดีย คอมมอนส์